top of page
  • รูปภาพนักเขียนSarunya Chaiduangsri

แอปฯ แต่งภาพ อาจทำข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลไม่รู้ตัว จริงหรือ ?


แอปฯ แต่งภาพ ตัวช่วยที่ทำให้ภาพถ่ายดูดียิ่งขึ้น อาจไม่ได้มีแค่ประโยชน์ แต่อาจเป็นเครื่องมือดูดข้อมูลส่วนตัว และโจมตีทางไซเบอร์ของมิจฉาชีพได้


ในยุคที่สมาร์ตโฟนมีการพัฒนาไปมากขึ้น และความละเอียดของกล้องมือถือยิ่งสูงขึ้น ผู้คนต่างนิยมหันมาใช้สมาร์ตโฟนในการถ่ายภาพ และแต่งภาพเพื่อโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ด้วยเหตุนี้จึงมีแอปฯ แต่งภาพเกิดขึ้นมากมาย ให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้ตามความต้องการ ทว่าในความหลากหลายของแอปฯ ต่าง ๆ อาจมีอันตรายซ่อนอยู่ เพราะในปัจจุบันพบว่า มีแอปแต่งภาพจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว เลวร้ายที่สุดอาจถึงขั้นดูข้อมูลส่วนตัว หรือกลายเป็นมัลแวร์อันตรายที่ส่งผลเสียต่ออุปกรณ์อย่างร้ายแรง


แอปพลิเคชันแต่งภาพส่วนใหญ่ที่มีในแอปสโตร์ของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ จะต้องมีฟังก์ชันที่จำเป็น ต้องขอการเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์ โดยเฉพาะในส่วนของอัลบั้มภาพ ที่จะต้องมีการขอเพื่อเข้าถึงภาพทั้งหมด เนื่องจากในการจะตกแต่งภาพได้นั้นจะต้องนำรูปจากในอัลบั้มมาใช้ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่รูปภาพบางภาพที่คุณไม่ต้องการให้ผู้อื่นเห็นการรั่วไหลผ่านช่องโหว่เหล่านี้ได้


ทั้งนี้ นักวิจัยของ Cybernews ได้มีการตรวจพบแอปฯ แต่งภาพยอดนิยมหลายแอปฯ ที่ละเมิดความเป็นส่วนตัว ทั้งการรวบรวม และนำข้อมูลไปขายต่อ รวมไปถึงการเผยแพร่โฆษณาอันตราย และทำให้ผู้ใช้งานถูกหลอกลวงให้มอบข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน หรือติดตั้งมัลแวร์อันตราย โดยเฉพาะแอปฯ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศจีน หรือรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีนโยบายความเป็นส่วนตัวที่ไม่รัดกุมมากพอ


นอกจากนี้ในปี 2019 FaceApp แอปฯ แต่งภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากยังถูกสอบสวนโดย FBI และถูกระบุว่าเป็น "ภัยคุกคามต่อต้านการข่าวกรอง" ถึงอย่างนั้นเอง ผู้ก่อตั้ง FaceApp ก็ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด และอ้างว่าข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดได้รับการจัดเก็บอย่างปลอดภัยตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


และแม้จะไม่มีการระบุออกมาชัดเจนว่าแอปฯ แต่งภาพใดที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่จะสามารถสังเกตได้ ดังนั้นผู้ใช้งานอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งานให้มากขึ้น โดยควรเลือกดาวน์โหลดแอปฯ ที่ปลอดภัย และน่าเชื่อถือเพื่อใช้ในการแต่งภาพ เท่านี้ก็จะช่วยป้องกันความเป็นส่วนตัว และลดความเสี่ยงที่จะทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้


ข้อมูลส่วนบุคคล


makeuseof.com


ดู 22 ครั้ง0 ความคิดเห็น
โพสต์: Blog2 Post
bottom of page