Jitanon Maneekhwan
ส่องมาตรการความปลอดภัย เมื่อไทยเป็นเจ้าภาพ APEC
Securitypitch พาส่องมาตรการความปลอดภัย เมื่อไทยเป็นเจ้าภาพ APEC

ถือเป็นอีกครั้งที่ประเทศไทยได้มีโอกาสจัดงานระดับโลกอย่าง การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ หรือเอเปก (APEC) ระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งในครั้งนี้ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ โดยมีผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วมกว่า 20 ประเทศ รวมถึงมีผู้นำองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก
และในฐานะเจ้าภาพ หนึ่งในมาตรการสำคัญก็คือการดูแลรักษาความปลอดภัยภายในงาน เพราะนอกจากแขกบ้านแขกเมืองที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ยังมีสื่อมวลชนชั้นนำจากทุกสำนักทั่วโลกมาด้วย โพสต์นี้ Security Pitch จึงขออาสาพาทุกคนไปส่องมาตรการความปลอดภัยที่ถูกยกมาใช้ในงานกันครับ
มาเริ่มกันที่ความปลอดภัยใกล้ตัวอย่าง กล้องวงจรปิด CCTV ที่ในงานนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ (ผบ.ตร.) และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้จัดประชุมร่วมกันเพื่อหารือเพิ่มกล้อง CCTV ในการดูแลรักษาความปลอดภัย และที่สำคัญจะมีการดึง
ทีมงานเทศกิจ พนักงานทำความสะอาด ภาคประชาชน มาช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัย
ขณะเดียวกันผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ได้ทำการตรวจความพร้อมการซักซ้อมมาตรการรักษาความปลอดภัย ในการประชุมAPEC 2022 โดยมีการเตรียมแผนเผชิญเหตุรองรับหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยกำลังเจ้าหน้าที่มากกว่า 2 หมื่นนายด้วยกัน
ทางด้านของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ก็ได้ทำการเตรียมแผนด้านการรักษาความปลอดภัยในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงงานประชุม APEC 2022 ตั้งแต่วันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 เพื่อสร้างความมั่นใจ และปลอดภัยให้กับประชาชนผู้มาใช้บริการ โดยมีมาตรการรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ดังนี้
– จัดเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ EOD เจ้าหน้าที่ EOR (ทีมลาดตระเวนค้นหาสรรพาวุธวัตถุระเบิด และวัตถุต้องสงสัย) กว่า 300 นาย ตรวจตราในพื้นที่สถานี และในขบวนรถไฟฟ้า
– จัดชุดสุนัขตรวจวัตถุระเบิด (K9) ออกตรวจสอบพื้นที่ในระบบรถไฟฟ้า ตรวจสัมภาระผู้โดยสารก่อนเข้าระบบรถไฟฟ้าเพื่อตรวจหาวัตถุต้องห้าม อาทิ อาวุธ ของมีคม อย่างเข้มงวดทุกสถานี
– ควบคุมติดตามการใช้งานโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ตลอด 24 ชั่วโมง
หากเรามองเทียบย้อนไปถึงปี 2018 ที่การประชุมเอเปคจัดขึ้นที่ประเทศปาปัวนิวกินี มีการใช้มาตราการรักษาความปลอดภัยการประชุมโดยทีมกองกำลังป้องกันประเทศออสเตรเลีย (ADF) เพียง 1,500 คน ซึ่งจะมาบัญชาการร่วมจะร่วมมือกับกองกำลังป้องกันประเทศปาปัวนิวกินีในการรักษาความปลอดภัยในครั้งนั้น เพราะประเทศปาปัวนิวกินีเป็นเกาะขนาดเล็กไม่ใหญ่มากเลยอาจไม่จำเป็นต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยมากมายหากเทียบกับประเทศไทยของเรานั่นเอง
ที่สำคัญเพราะว่าตั้งแต่ปี 2020 ที่ผ่านมา APEC ไม่สามารถจัดการประชุมแบบยิ่งใหญ่ได้เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาระบาดหนัก ทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบไปจัดการประชุมออนไลน์ทางไกลแทนนั่นเอง ดังนั้นเมื่อสถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น และปีนี้เราในฐานะผู้ที่ได้รับหน้าที่ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ก็ควรที่จะต้องต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของเราที่จะมาร่วมประชุมในครั้งนี้เหมือนกันนั่นเอง
ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3667754 และ https://www.tnnthailand.com/news/social/130006/
#APEC #Thailand #Security #Securitypitch