top of page
  • รูปภาพนักเขียนSarunya Chaiduangsri

IoT การแพทย์ กำหนดความเป็นความตายผู้ป่วย


แม้เครื่องมือทางการแพทย์จะมีการนำเอาระบบ IoT มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกกังวลถึงความปลอดภัยของเครื่องมือทางการแพทย์ และยังมองว่า เทคโนโลยีเหล่านี้อาจเป็นเครื่องมือที่กำหนดความเป็นความตายของมนุษย์ได้


ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์พัฒนาไปมาก นักวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการแพทย์จำนวนไม่น้อยทุ่มเทเวลาไปกับการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือร่นระยะเวลาในการรักษาให้กับแพทย์ โดยเฉพาะเครื่องมือที่นำเอาระบบ IoT มาใช้ และถึงแม้จะมีการทดลองอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือมีความปลอดภัยมากพอ แต่ในทางกลับกันก็มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีการติดตั้งเครื่องมือเหล่านี้ในร่างกาย เช่นเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในเมืองลอนดอน ที่ผู้ป่วยชายคนหนึ่งมาถึงโรงพยาบาลกลางดึกพร้อมกับความผิดปกติทางร่างกาย แต่กลับไม่พบความผิดปกติใด ๆ จนกระทั่งพวกเขาพบว่า ชายคนดังกล่าวมีการใส่เครื่องกระตุ้นสมอง และเครื่องมือดังกล่าวมีการทำงานที่ไม่ปกติจนทำให้แสดงอาการผิดปกติออกมา


นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ IoT ทางการแพทย์กำลังถูกคุกคามทางไซเบอร์ จนทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้สวมใส่ ซึ่งผู้อำนวยการขององค์กร bleepDigital องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ออกมาเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจทุกระดับ หันกลับมาตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัย และมองหาช่องโหว่ที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงจากการใช้เครื่องมือ IoT ทางการแพทย์ให้มากขึ้น ก่อนที่มันจะกลายเป็นอาวุธที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้จริง


ไม่เพียงเท่านั้น ยังได้มีการเสนอแนะว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องมือ IoT ทางการแพทย์ ก็ควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อรับมือปัญหาทางเทคนิคที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาด้วย


นอกเหนือจากความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่กังวลใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ IoT ทางการแพทย์ ก็คือเรื่องของความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ป่วยที่อาจรั่วไหล หรือนำไปใช้ในทางมิชอบ โดยไม่ได้รับความยินยอม ด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลการทำงานของเครื่องมือส่วนใหญ่ในอุปกรณ์ดังกล่าวมักจะถูกจัดเก็บ และส่งกลับมาให้ยังหน่วยงานทางการแพทย์ที่ทำการรักษา เพื่อนำไปวิเคราะห์หาทางรักษาที่เหมาะสม ซึ่งถ้าหากหน่วยงานทางการแพทย์ไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เหมาะสมก็อาจทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยรั่วไหลออกไปได้เช่นกัน


ดังนั้นสิ่งที่หน่วยงานทางการแพทย์ควรทำเพื่อป้องกันข้อมูลของผู้ป่วยรั่วไหลก็คือการวางมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล อีกทั้งยังควรมีมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้อุปกรณ์ IoT ทางการแพทย์ เพื่อให้ทั้งข้อมูลส่วนบุคคล และชีวิตของผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย ไม่ถูกแขวนบนเส้นด้ายเพียงเพราะการดูแลที่ไม่รัดกุมมากพอ


ขอบคุณข้อมูลจาก


infosecurity-magazine.com


ดู 28 ครั้ง0 ความคิดเห็น
โพสต์: Blog2 Post
bottom of page