top of page
  • รูปภาพนักเขียนJitanon Maneekhwan

5 สาเหตุที่ทำให้ข้อมูลสำคัญอยู่ในความเสี่ยง

#SecurityUpdate | 5 สาเหตุที่ทำให้ข้อมูลสำคัญอยู่ในความเสี่ยง

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้การจารกรรมข้อมูลเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น เพราะถึงแม้จะระมัดระวังมากแค่ไหน แต่เหล่าบรรดาแฮ๊กเกอร์ก็ยังสามารถเจาะระบบและขโมยข้อมูลได้โดยอาศัยช่องโหว่ที่อาจคาดไม่ถึง และนี่คือ 5 สาเหตุที่อาจทำให้ข้อมูลสำคัญตกอยู่ในความเสี่ยง และวิธีป้องกันเพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นปลอดภัยมากที่สุด


1. อาชญากรรมทางไซเบอร์

Ransomware และการโจมตีทางไซเบอร์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่แล้วเหยื่อของการโจมตีมักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือหน่วยงานรัฐบาลเป็นหลัก แต่ก็อย่าชะล่าใจ เพราะข้อมูลที่ถูกจารกรรม และนำไปขายในตลาดมืดอาจเป็นข้อมูลส่วนตัวที่เรากรอกไว้บนเว็บไซต์ หรือให้กับทางหน่วยงานไว้ได้ด้วยเช่นกัน โดยในบางครั้งอาจมีการเจาะเข้าระบบเพื่อส่ง malware กระจายไปยังผู้ใช้ในเครือข่า ยเพื่อหวังจะขโมยข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมด แล้วนำไปขายในตลาดมืด ซึ่งในกรณีนี้ ข้อมูลที่ถูกขโมยอาจเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูง


2. Social media mining

โซเชียลมีเดียที่ใช้กันบ่อย อย่าง Twitter, Facebook ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ โดยในทุก ๆ วันมีบัญชีโซเชียลมีเดียจำนวนมากที่ถูกละเมิด และมีการแฮ็กข้อมูล ยิ่งหากคุณเลือกใช้ข้อมูลชุดเดียวกันในการเข้าระบบ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือแม้แต่การทำธุรกรรม คุณก็อาจตกอยู่ในความเสี่ยงที่บรรดาแฮ็กเกอร์จะนำข้อมูลที่ได้ไปเข้าถึงบัญชีธนาคารได้

ไม่เพียงเท่านั้น แฮ็กเกอร์ยังอาจถือโอกาสนำข้อมูลที่ขโมยไป เพื่อสร้างข้อความฟิชชิ่ง (Phishing) แล้วนำไปหลอกคนใกล้ตัวของคุณ อาทิ เพื่อนร่วมงาน หรือกลุ่มความสนใจที่คุณอยู่ และก่อให้เกิดความเสียหายตามมาได้

ฉะนั้นหากต้องการให้ข้อมูลของคุณมีความปลอดภัย ควรสร้างรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันให้กับบัญชีส่วนตัวแต่ละอัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาการถูกละเมิดข้อมูล และควรใช้การยืนยันตัว 2 ชั้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันข้อมูลอีกระดับหนึ่ง และควรตั้งแจ้งเตือนผ่านทางข้อความ หรืออีเมลทุกครั้งที่มีการเข้าใช้งาน ก็จะช่วยป้องกันได้อีกระดับหนึ่ง


3. การใช้ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัย

ซอฟต์แวร์ที่สำคัญอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และแอปพลิเคชันต่าง ๆ มักจะมีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผู้ใช้งานปลอดภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยเฉพาะเมื่อมีการพัฒนาโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ ๆ ในบางกรณีก็อาจมีช่องโหว่เล็ก ๆ ที่มองไม่เห็น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้พัฒนาก็จะรีบแก้ไขในเวลาที่รวดเร็ว แต่การที่ไม่ยอมอัปเดตโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ ก็อาจทำให้โปรแกรมที่ใช้เกิดช่องโหว่ให้บรรดาผู้ไม่หวังดีเจาะเข้ามาในระบบ และขโมยข้อมูลสำคัญ รวมทั้งอาจทำให้อุปกรณ์ของคุณทำงานผิดปกติอีกด้วย


4. การทำงานที่ล้มเหลวของฮาร์ดแวร์

การทำงานที่ล้มเหลวของฮาร์ดแวร์คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้อมูลของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงได้ เพราะเมื่อฮาร์ดแวร์เกิดการเสื่อมสภาพ จนไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ก็อาจทำให้เกิดช่องโหว่ จนเป็นสาเหตุให้ข้อมูลของคุณตกอยู่ในอันตรายได้ ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ควรหมั่นเช็กความพร้อมของฮาร์ดแวร์อย่างสม่ำเสมอ และเป็นไปได้ก็ไม่ควรเก็บข้อมูลสำคัญ หรือภาพของเอกสารสำคัญต่าง ๆ ไว้ในที่ที่เข้าถึงได้ง่ายจนเกินไป เพราะหากเกิดการแฮ็กก็อาจทำให้ถูกขโมยข้อมูลได้ง่าย


5. การสูญหายของอุปกรณ์

โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์แล็บท็อป ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่เมื่อสูญหายแล้วก็มักจะส่งผลเสียตามมาในหลาย ๆ ด้าน เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มักเป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ และมีความละเอียดอ่อนสูงของผู้ใช้ โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2021 มีการสูญหายหรือถูกขโมยไปของโทรศัพท์มือถือ มากกว่า 8.7 ล้านเครื่อง หรือตีเป็น 24,000 เครื่องต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งจำนวนเคสที่สูงมากขึ้นนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงของการถูกละเมิดที่สูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน


และถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงในการถูกละเมิด หรือการถูกขโมยข้อมูลได้ แต่การระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลตกไปอยู่ในความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ นอกจากนี้ยังควรตระหนักว่าการให้ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนก่อนผู้อื่นไปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจอย่างมาก และไม่ให้ข้อมูลสำคัญแก่ใครง่าย ๆ เพราะหากข้อมูลสำคัญตกไปอยู่ในมือผู้ที่ไม่หวังดีแล้ว อาจมีการทำซ้ำ หรือนำไปใช้อย่างผิดกฎหมายจนเราไม่สามารถควบคุมได้ และทำให้ตัวเราเองเดือดร้อนได้ในอนาคต


ติดตามข้อมูลข่าวสาร และบทความดี ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยได้ที่ Securitypitch.com


ดู 31 ครั้ง0 ความคิดเห็น
โพสต์: Blog2 Post
bottom of page